ประชามติ

Prachamati.org ขอท้าคนกล้า! ส่งแบบเสื้อรณรงค์ประชามติ

7 สิงหาคมนี้ จะประชามติแล้ว เว็บไซต์ประชามติจึงขอชวนประชาชนเจ้าของอำนาจทุกคน ส่งแบบเสื้อยึดรณรงค์ประชามติเข้าประกวด ภายใต้แนวคิด "Design your future" เพื่อชิงเงินรางวัลรวมมูลค่า 18,000 บาท

 

 

กติกาการแข่งขัน

1. ออกแบบลายเสื้อยืดภายใต้แนวคิด "Design your future"

7 เรื่องน่ารู้ก่อนลงประชามติ 7 สิงหา

หลายคนยังคงสับสนและงุนงงในหลายประเด็นสำหรับการออกเสียงประชามติที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เพื่อการเตรียมความพร้อม เราข้อย้ำเตือน 7 ประเด็นก่อนเข้าคูหาลงประชามติ

การออกเสียงนอกเขตจังหวัด

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเปิดให้ผู้มีสิทธิออกเสียงที่ต้องการใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัด ลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 – 30 มิถุนายน 2559

หนังสือ เรียนประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่อง ขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ประชามติ 2559 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

รายละเอียดหนังสือร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559  มาตรา 61 วรรคสองและวรรคสี่ ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและขัดต่อรัฐธรรมนูญ

พ.ร.บ.ประชามติ: ห้ามรณรงค์-โพสต์ปลุกระดม ติดคุก 10 ปี

คลอดเรียบร้อย สำหรับ พ.ร.บ.ประชามติ เพื่อรับมือกับเส้นทางสู่การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 ส.ค. 2559 พ.ร.บ.ฉบับนี้ สนช.แก้ไขไปจากเดิมพอสมควร เช่น การตัดไม่ให้มีการรณรงค์ร่างรัฐธรรมนูญ หรือการปรับเปลี่ยนบทลงโทษขอความผิดบ้างประเภทใหม่ และยกเลิกการออกเสียงผ่านเครื่องลงคะแนน

คำถามพ่วงประชามติ : "ให้รัฐสภาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ในช่วง 5 ปีแรก"

สนช. ตัดสินใจเลือก "คำถามพ่วง" ที่จะถามประชาชนควบคู่ไปกับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้ว โดยจะถามว่า "เห็นชอบหรือไม่ ให้รัฐสภาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ในช่วง 5 ปีแรก" ซึ่งทำให้ส.ว. 250 คนแรกที่มาจากการแต่งตั้งจะมาเลือกนายกฯ ด้วย และไม่ใช่คนเดียวแต่อาจได้เลือกนายกฯ อย่างน้อยสองคน

คำถามพ่วงประชามติ ประชาชนอยากรู้ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะทำอย่างไร

หลังการเว็บไซต์ประชามติสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผ่านเฟซบุ๊กประชามติ ว่าอยากจะตั้งคำถามอะไรเพิ่มเติม ในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ปรากฏว่าคำถามที่รับคะแนนโหวตมากที่สุดคือ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านให้รัฐบาล คสช.ลาออกทั้งหมดหรือไม่?

‘องอาจ-พงศ์เทพ’ เห็นร่วม ผู้มีอำนาจต้องสร้างทางเลือกหาก รธน. ถูกคว่ำ

เปิดวงถกปัญหาประชามติ ‘องอาจ-พงศ์เทพ’ เห็นร่วม คสช.ต้องระบุให้ชัดประชามติไม่ผ่านจะทำอย่างไร ‘สมบัติ ธำรงธัญวงศ์’ ชี้ คนไทยยังไม่เข้าใจร่างรัฐธรรมนูญ แต่กลับเจอปัญหาการปิดกั้นการกระจายความรู้ สุดท้ายการออกเสียงอาจเป็นแค่ พิธีกรรม

ชาวเน็ต 85% จะไปลงประชามติร่างรธน. ระบุเป็นโอกาสแสดงพลังในการตัดสินอนาคตประเทศ

เปิดผลโหวตคำถามว่า “คุณจะไปออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญของ คสช.หรือไม่?” ชาวเน็ตส่วนใหญ่จำนวน 3,828 คน หรือ 85% จะ "ไป" ใช้สิทธิออกเสียงประชามติ ขณะที่ประชาชนจำนวนอีก 656 คน หรือ 15% จะ "ไม่ไป" ออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

ประชามติร่างรัฐธรรมนูญวัดกันที่ คะแนน "เห็นชอบ" กับ "ไม่เห็นชอบ"

ผลของการลงประชามติครั้งนี้จะวัดกันที่จำนวนคนที่ลงคะแนน "เห็นชอบ" กับ "ไม่เห็นชอบ" ว่าฝั่งไหนเยอะกว่าเท่านั้น ส่วนคนที่กาช่อง "งดออกเสียง" หรือ ทำบัตรเสีย จะไม่นับรวมด้วย แม้ว่าเมื่อรวมจำนวนเสียงที่โหวต "ไม่เห็นชอบ" "งดออกเสียง" และ "บัตรเสีย" แล้วจะได้มากกว่าจำนวนเสียงที่ "เห็นชอบ" ก็ถือว่าเป็นการลงประชามติที่ "ผ่าน" อยู่ดี

Pages

Subscribe to RSS - ประชามติ