Error message

The specified file temporary://fileqxqyt6 could not be copied, because the destination directory is not properly configured. This may be caused by a problem with file or directory permissions. More information is available in the system log.

ให้มี คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 791 คน
เห็นด้วย 186ไม่เห็นด้วย 605

เมื่อวันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2558 มีการนัดประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 142 ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงว่าที่ประชุม กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ มีมติกำหนดให้มี "คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ"  โดยอยู่ในมาตรา 260 ของร่างรัฐธรรมนูญ

องค์ประกอบของคณะกรรมการ กำหนดให้มีสมาชิก 23 คน โดยมีที่มา 3 ส่วน ได้แก่

1. กรรมการโดยตำแหน่งมาจากประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ผู้บัญชาการกองทัพไทย ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งจากผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ซึ่งเลือกกันเองแต่ละประเภท ประเภทละหนึ่งคน 

3.กรรมาการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน  11 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญการปฏิรูปด้านต่างๆ และการสร้างความปรองดอง ซึ่งแต่งตั้งจากมติรัฐสภา

การเลือกประธาน ให้กรรมการเลือกผู้ซึ่งมีความเหมาะสมคนหนึ่งให้เป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ

ระยะเวลา คณะกรรมการชุดนี้จะมีอายุ 5 ปี เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรืออาจขยายได้หากมีประชามติอนุมัติ

อำนาจหน้าที่พิเศษ ภายในช่วง 5 ปี ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ หากเกิดปัญหาความขัดแย้งในประเทศโดยไม่สามารถควบคุมได้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติสามารถมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม เพื่อใช้มาตรการที่จำเป็นสำหรับจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าวแทนได้ เพื่อให้สถานการณ์กลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว  เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้ประธานกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติมีอำนาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทำการใดๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติหรือในทางบริหาร และให้ถือว่าคำสั่ง การกระทำ และการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่ง การกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้ และเป็นที่สุด

สถานะการเปิดให้โหวต: 
ปิดการโหวต

แสดงความเห็น

ประเด็นสนับสนุน

การปฏิรูปและการปรองดองจะสัมฤทธิ์ผลได้ ต้องเอาคนที่มีอำนาจในประเทศมารวมกัน ดึงมาจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่รัฐบาล ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ศาล รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ จะได้อำนวยการเพื่อสร้างความปรองดองและการปฏิรูป นับเป็นการสร้างกลไกพิเศษที่เหมาะสมกับสถานการณ์ความขัดแย้งที่ยังฝังรากลึกในสังคมไทยในปัจจุบัน

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 4 4 ความเห็น

เพราะการปฏิรูปสามารถเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันนี้ไปอีกอย่างน้อย 1 ปี ก่อนการเลือกตั้ง และถ้าร่างรัฐธรรมนูญนี้ผ่านประชามติ การปฏิรูปก็จะดำเนินต่อไปอีกอย่างน้อย 5 ปี

Votes: ชอบ 0 ไม่ชอบ 1 1 ความเห็น

จากเดิมการเมืองไทยเมื่อเกิดวิกฤตรัฐบาลพลเรือนจะนำมาสู่การรัฐประหาร และหลังรัฐประหารก็จะจัดให้มีการเลือกตั้ง ซ้ำไปซ้ำมาต่อเนื่อง จนกลายเป็น “วงจรอุบาทว์”  ต่อจากนี้เมื่อเกิดวิกฤติที่กลไกปกติจัดการไม่ได้ จะมีกลไกพิเศษตามรัฐธรรมนูญเพื่อพาประเทศออกจากทางตันในยามวิกฤติ และยากที่ประเทศไทยจะกลับไปเกิดรัฐประหารใหม่

Votes: ชอบ 0 ไม่ชอบ 1 2 ความเห็น

ประเทศไทยถูกกดดันจากนานาชาติให้กลับสู่ระบบประชาธิปไตยโดยเร็ว แต่การปฏิรูปประเทศยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ดังนั้นการมีกลไกพิเศษอย่าง “คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง” พร้อมจัดให้มีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่ จะทำให้ตรงตามความคาดหวังของนานาประเทศ และสามารถจัดการประเทศในระยะเปลี่ยนผ่านเพื่อให้สามารถเดินหน้าปฏิรูป และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมที่ฝังรากลึกมาอย่างยาวนานได้

Votes: ชอบ 0 ไม่ชอบ 1 0 ความเห็น

ประเด็นคัดค้าน

ในระบบประชาธิปไตยการแก้ไขวิกฤติทางการเมือง คือการคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินใจผ่านการเลือกตั้ง ไม่ใช่ให้อำนาจชนชั้นนำไม่กี่คนตัดสินใจแทนประชาชน 

Votes: ชอบ 6 ไม่ชอบ 0 4 ความเห็น

เสมือนเป็น “รัฐประหารเงียบ” กล่าวคือ หากเกิดปัญหาความขัดแย้งในประเทศโดยไม่สามารถควบคุมได้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติสามารถมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม เพื่อใช้มาตรการที่จำเป็นสำหรับจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าวแทนได้ และให้ประธานกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติมีอำนาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทำการใดๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติหรือในทางบริหาร

Votes: ชอบ 3 ไม่ชอบ 0 1 ความเห็น

เช่น การปลุกระดมมวลชนจำนวนมาก เพื่อต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จน “เกิดปัญหาความขัดแย้งในประเทศโดยไม่สามารถควบคุมได้” เพื่อเข้าเงื่อนไขการใช้อำนาจพิเศษของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดอง

Votes: ชอบ 3 ไม่ชอบ 0 2 ความเห็น

คณะกรรมการฯ จำนวน 22 คน เป็นการดึงเอา “ผู้มีบารมี” และ “ผู้มีอำนาจ” ในบ้านเมืองมารวมกัน แต่ไม่มีการยึดโยงกับประชาชน

Votes: ชอบ 3 ไม่ชอบ 0 1 ความเห็น

รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องดำเนินการตามแนวทางการปฏิรูปของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดอง โดยแม้แต่นายกรัฐมนตรี ก็เป็นเพียงกรรมการคนหนึ่งในคณะกรรมการชุดนี้ โดยยังไม่ทราบว่าใครจะได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการฯ

Votes: ชอบ 2 ไม่ชอบ 0 1 ความเห็น

จะเห็นว่ามีการตั้งคณะองค์กรต่างๆสืบทอดอำนาจจากคระรัฐประหาร เพื่อควบคุมปกครองยาวนาน ทั้งไม่มีแบบอย่างระบออบประชาธิปไตยที่ใดในโลกที่เป็นแบบนี้ ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง มองเห็นความวุ่นวายแน่นอนแม้ว้าจะเลือกตั้งแล้วก็ไม่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ ซึ่งส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางการทูต และ ปัญหาเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น

ในภาวะวิกฤติ ผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อสิทธิจากการใช้อำนาจของประธานกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ไม่อาจใช้วิธีการเยียวยาวทางศาลได้เลย ส่งผลให้สาระสำคัญของอำนาจตามบทบัญญัตินี้แทบจะลอกเอามาตรา 44 เดิมในรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาใช้ นอกจากนั้น ยังไม่มีกำหนดขอบเขตอำนาจของ "ประธานฯ" เอาไว้ด้วย กล่าวคือ ไม่กำหนดว่ามาตรการที่ออกมาจะต้องใช้ภายในระยะเวลาที่จำกัดและเป็นไปเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เหตุร้ายนั้นหมดไปเท่านั้น

Votes: ไม่มีคะแนน 2 ความเห็น