การจัดเก็บ “ภาษีบาป” เพื่ออุดหนุนกิจการเฉพาะ (Earmarked Tax) เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 335 คน
เห็นด้วย 141ไม่เห็นด้วย 194

การจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Earmarked Tax) คือ การจัดเก็บภาษีเป็นการพิเศษ เพื่อนำไปใช้สำหรับวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งเป็นการเฉพาะ ในประเทศไทย มีหน่วยงานที่ได้รับเงินอุดหนุนจากการจัดเก็บ Earmarked Tax ที่โดดเด่นอยู่ 2 องค์กร จนได้รับฉายาว่าเป็นหน่วยงานที่ได้รับรายได้จาก “ภาษีบาป” ได้แก่

1.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่ง พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 กำหนดให้จัดสรรรายได้ร้อยละ 2 ของภาษีที่เก็บได้จากภาษีสุราและยาสูบให้แก่ สสส. ให้มีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน โดยไม่ได้กำหนดเพดาน
2.)  สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS หรือ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ซึ่ง พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 กำหนดให้จัดสรรรายได้ร้อยละ 1.5 ของภาษีที่เก็บได้จากภาษีสุราและยาสูบ แต่ไม่ให้เกิน 2,000 ล้านบาทต่อปี ให้แก่ ThaiPBS

ในการร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินอยู่ เคยมีผู้เสนอว่า จะให้มีบทบัญญัติห้ามการจัดเก็บ Earmarked Tax อย่างเด็ดขาด และสำหรับ 2 องค์กรข้างต้น ก็จะให้ดำเนินการต่อไปได้อีก 4 ปีเท่านั้น ขณะที่เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม แนวหน้า รายงานว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอาจทบทวนข้อเสนอดังกล่าวอีกครั้ง โดยอาจทบทวนให้มีความยืดหยุ่น โดยจะไม่ห้ามจัดเก็บ Earmarked Tax เด็ดขาด แต่ให้คำนึงถึงวินัยการเงินการคลังด้วย และจะยกเว้นให้องค์กรที่เกิดขึ้นก่อนรัฐธรรมนูญบังคับใช้อย่างถาวร  ไม่ได้กำหนดเวลแค่ 4 ปี

ที่มารูปภาพ: http://www4.thaihealth.or.th/node/8972

สถานะการเปิดให้โหวต: 
ปิดการโหวต

แสดงความเห็น

ประเด็นสนับสนุน

สสส. มีความคล่องตัวในการใช้จ่ายงบประมาณ และมีความเป็นอิสระในการรณรงค์ต่อต้านเหล้าสุรา บุหรี่ รวมทั้งสรรพสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาวะของคนไทย ซึ่งเห็นได้จากผลงานการรณรงค์และการจัดกิจกรรมต่างๆ มากมายที่ออกมา ซึ่งหน่วยงานในระบบราชการปกติไม่สามารถทำได้ ส่วน ThaiPBS ก็สามารถผลิตรายการโทรทัศน์ที่เป็นอิสระ ปราศจากโฆษณา และมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ นอกจากนั้น ทั้งสององค์กรยังสามารถดำเนินกิจกรรมของตนได้อย่างต่อเนื่อง เพราะมีงบประมาณอุดหนุนสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี

Votes: ไม่มีคะแนน 2 ความเห็น

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ สสส. ซึ่งได้รับงบประมาณร้อยละ 2 ของภาษีที่เก็บได้จากภาษีสุราและยาสูบ มาดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น

รัฐธรรมนูญไม่ควรห้ามการจัดเก็บ Earmarked Tax เพราะเปรียบเสมือนการมัดมือตนเอง หากในอนาคตภาครัฐต้องการสนับสนุนองค์กรหรือโครงการอื่นๆ โดยใช้วิธีการจัดเก็บ Earmarked Tax ก็จะไม่สามารถทำได้

ตัวอย่างการจัดเก็บ Earmarked Tax อื่นๆ ในต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซียเก็บภาษีเพิ่มพิเศษจากผู้พักโรงแรมเพื่อเอาไปใช้ในการจัดกีฬาซีเกมส์ สหรัฐอเมริกามีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน เพื่อเอาไปใช้อุดหนุนการศึกษาเป็นพิเศษ เป็นต้น

Votes: ไม่มีคะแนน 1 ความเห็น

สสส. และ ThaiPBS นั้น ในแต่ละปีมีรายได้จาก Earmarked Tax รวมกันประมาณ 6,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้จากเงินภาษีอากรทั้งหมดคือ 2,670,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นสัดส่วนที่เล็กน้อยมาก

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น

ประเด็นคัดค้าน

สสส. และ ThaiPBS มีรายได้สม่ำเสมอตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ต้องชี้แจงงบประมาณต่อรัฐสภา ทำให้การควบคุมการคลังทั้งด้านรายได้และรายจ่ายของภาครัฐไม่เป็นระบบ และองค์กรทั้งสองแห่งอาจมีการใช้จ่ายเงินผิดวัตถุประสงค์หรือใช้จ่ายเกินความจำเป็นได้ง่าย เพราะไม่ได้ผ่านการตรวจสอบตามระบบงบประมาณปกติ

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

สสส. และ ThaiPBS ยังคงจะได้รับรายได้สม่ำเสมอจากการจัดสรรส่วนแบ่งจากเงินภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าทั้งสององค์กรจะดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือมีผลงานเป็นที่ประจักษ์หรือไม่

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

ตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 สภาคอนเกรสห้ามมิให้มีการจัดเก็บ Earmarked Tax อีกต่อไป เพราะที่ผ่านมามีการใช้ Earmarked Tax สำหรับโครงการต่างๆ จำนวนมหาศาล เพื่ออุดหนุนนโยบายประชานิยมซึ่งนักการเมืองใช้ในการหาเสียง ไม่ว่าจะเป็นโครงการสร้างทางด่วน ถนน สะพาน ฯลฯ นอกจากนั้น การจัดเก็บ Earmarked Tax ในสหรัฐอเมริกาในอดีตก็ทำได้ง่าย เพียงบรรจุไว้ในเอกสารงบประมาณของกรรมาธิการเท่านั้น

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น

การที่ราคา “สินค้าบาป” ปรับตัวสูงขึ้น กระทบกับผู้มีรายได้ต่ำมากกว่าผู้มีรายได้สูง นอกจากนั้น ข้อเท็จจริงคือราคาสินค้าบาปที่เพิ่มขึ้นก็ไม่ได้ทำให้คนไทยลดการบริโภคสินค้าบาปเหล่านั้นลง ตัวอย่างเช่น อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทย ในปี พ.ศ. 2544 มีสัดส่วนร้อยละ 25.5 จากจำนวนประชากรทั้งหมด ขณะที่ในปี พ.ศ. 2554 มีสัดส่วนร้อยละ 21.4 จากจำนวนประชากรทั้งหมด แต่อายุเฉลี่ยของผู้เริ่มต้นสูบบุหรี่ลดลงจาก 18.5 ปี ในปี พ.ศ. 2544 มาเป็นอายุเฉลี่ย 17.9 ปี ในปี พ.ศ. 2554 ส่วนอัตราการดื่มสุราของคนไทย เมื่อปี พ.ศ. 2544 มีสัดส่วนร้อยละ 32.6 จากจำนวนประชากรทั้งหมด ในขณะที่ในปี พ.ศ.

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น