ข่าว

Prachamati.org ขอเชื้อเชิญประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ ร่วมกันแสดงออกว่า หนทาง หรือ โรดแแมป ไปสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่นั้น ควรจะเป็นอย่างไร เพียงท่าน ถ่ายรูปกับสิ่งใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ กำแพง หรือฝ่ามือ พร้อมข้อความว่า "My Roadmap" แล้วเขียนคำบรรยายใต้รูป ในหัวข้อ "โรดแม็ปสู่การเลือกตั้ง คุณอยากได้แบบไหน" จากนั้นติดแฮชแท็ก ‪#‎Prachamati‬ แล้วโพสต์ลงในเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม หรือสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ 
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ  ปาฐาถกฐาเรื่อง "รู้ลึก รู้ชัด กับอนาคตรัฐธรรมนูญ" กล่าว จะทบทวนร่างรัฐธรรมนูญใหม่ อาทิ การปรับจำนวน ส.ส. จากเดิม 250 คน อาจปรับเป็นส.ส.เขต 300 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 คน  และมีแนวโน้มว่าการคิด ส.ส.บัญชีรายชื่อ 6 ภาค อาจปรับเป็นแบบเดิมโดยใช้เป็นเขตประเทศ  เรื่องกลุ่มการเมืองก็มีแนวโน้มสูงที่จะเอาออก แต่จะให้มีการตั้งพรรคการเมืองง่ายขึ้น ส่วนหน้าที่ ส.ว.คิดว่าจะปรับในส่วนของการเสนอกฎหมายออกไป เป็นต้น
หลังจากผู้พิพากษา 1,380 คนยื่นจดหมายเปิดผนึกคัดค้านกรณีกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอาจแก้ไขให้เพิ่มสัดส่วนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจากคนนอกไม่น้อยกว่า 1 ใน 3  ล่าสุดไพบูลย์ นิติตะวัน  กรรมาธิการยกร่างฯ กล่าวว่าพร้อมจะนำความเห็นไปพิจารณา ทั้งนี้จากการพูดคุยกับกรรมาธิการฯ อย่างไม่เป็นทางการ เชื่อว่าน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เพราะส่วนใหญ่เห็นด้วยกับผู้พิพากษา    
ผู้พิพากษาศาลยุติธรรม 1,130 คน เข้าชื่อจดหมายเปิดผนึกคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) เนื่องจากในร่างรัฐธรรมนูญกำหนดสัดส่วนบุคคลภายนอก 1 ใน 3 ของคณะกรรมการฯ ซึ่งต่อมาคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ข้อสรุปว่าจะยกเลิกสัดส่วนดังกล่าว แต่จะเสนอให้มีตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาลเข้ามาเป็น ก.ต. เพิ่มขึ้นอีก 1 คน ซึ่งผู้พิพากษาหวั่นจะถูกการเมืองแทรกแซงความอิสระ
วันชัย สอนศิริ สปช. เชื่อว่าจะมีการคว่ำรัฐธรรมนูญ เพราะข้อเสนอแก้ไขของ สปช. นั้น กมธ.ยกร่างฯ คงไม่สามารถแก้ไขได้ทั้งหมด สปช.จะไม่ยอมให้รัฐธรรมนูญมีตำหนิ ก็น่าจะประกาศคว่ำรัฐธรรมนูญ เท่าที่ได้แลกเปลี่ยนความเห็นกัน สปช.ทุกคนเห็นตรงกันว่า ร่างรัฐธรรมนูญนี้กลัดกระดุมผิดตั้งแต่ต้นจึงมีรอยตำหนิ หาความพอดีไม่ได้ การตัดเสื้อผ้าใหม่น่าจะดีกว่าการมาปะชุน กระบวนการควรเริ่มขึ้นใหม่   
หลังที่ประชุม คสช.ร่วมกับครม.ได้ข้อสรุปเตรียมแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ทำให้ประเด็นการลงประชามติ กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง ประชาไท สัมภาษณ์ รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี จากศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย ถึงความหมาย หลักการ เงื่อนไขของการทำประชามติ ประสบการณ์ประชามติในต่างประเทศ รวมทั้งประเมินความเป็นไปได้ ผลกระทบของการทำประชามติทั้งร่างรัฐธรรมนูญและการต่ออายุคสช.
ผู้จัดการออนไลน์ รายงาน  การชี้แจงของ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการทำประชามติว่า จะไม่มีการลงประชามตินอกราชอาณาจักร หรือลงคะแนนล่วงหน้า เนื่องจากเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ นอกจากนี้ เกณฑ์การนับคะแนนให้ยึดเสียงข้างมาก แต่ไม่ต้องถึงครึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ลงประชามติทั้งหมดก็ได้ เรื่องการรณรงค์ประชามติรัฐบาลจะผ่อนคลายให้ แต่ห้ามขัดขวาง ฉีกบัตร ทำโพลก่อน 7 วัน หรือรณรงค์ให้ไม่ไปใช้สิทธิ์ ไม่งั้นมีความผิด
9มิ.ย.58 วิษณุ เครืองาม แถลงหลังการประชุมร่วม ครม.และ คสช. ซึ่งที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ใน 7 ประเด็น ใช้ชื่อว่าร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2558 โดยแก้ไขประเด็นสำคัญ เช่น การขยายระยะเวลาแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการทำประชามติ ขณะที่ กกต.ระบุการลงประชาประชามติน่าจะเกิดขึ้นในวันที่ 10 มกราคม 2559
หลังจากที่กระแสให้มีการประชามติ 'ปฎิรูปก่อนเลือกตั้ง' ซึ่งอาจจะส่งผลให้รัฐบาลทหารอยู่ต่ออีก 2 ปี ก็มีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและคัดค้าน อย่างไรก็ดี การประชุมระหว่าง คสช.-ครม. ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปในประเด็นดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าหลังจากนี้ ฝ่ายใดของรัฐบาลจะเป็นผู้เสนอเรื่องดังกล่าวให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่วนข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ให้ขยายเวลากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ไม่เกิน 30 วัน และหากลงประชามติไม่ผ่านให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมาธิการยกร่างใหม่ 21 คน
6 มิ.ย. 58 คณะรัฐมนตรี ส่งนายวิษณุ เครืองาม เป็นตัวแทนเข้าชี้แจงเหตุผลต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หลังยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งสิ้น 117 ประเด็น เกี่ยวข้องกับเนื้อหา 113 มาตรา นอกจากนี้ คำขอของ ครม.ยังแตกต่างจากคำขอของ สปช. อีก 8 คณะ เพราะเป็นคำขอเดียวที่ไม่ได้ลงรายละเอียด “โดยทันที” ว่าอยากแก้ไขเนื้อหาในมาตราใด อย่างไร ด้วยเหตุผลใด  

Pages