รัฐธรรมนูญ

หากทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ไม่ผ่าน ควรทำอย่างไร?

วันที่ 19 พฤษภาคม 2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงมติการประชุมร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 เพื่อให้มีการทำประชามติ อย่างไรก็ตามคำถามสำคัญของการลงประชามติครั้งนี้คือ ถ้าประชาชนไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผลลัพธ์ที่จะเป็นที่ยอมรับคืออะไร?

"วิษณุ" คาดทำประชามติ ม.ค. 59 ได้เลือกตั้งไม่เกิน ส.ค. 59

วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี คาดเสนอแก้ไข รธน. ชั่วคราวได้ มิ.ย.นี้ เพื่อเปิดทางทำประชามติ และจะได้ทำประชามติไม่เกิน ม.ค. 59  ยอมรับการทำประชามติกระทบโรดแมป ขยับไป 3-4 เดือน ส่วนการจัดการเลือกตั้งน่าจะไม่เกิน ส.ค. 59

ที่ประชุม ครม.-คสช. เห็นชอบ ให้แก้ไขรธน.′57เพื่อเปิดช่อง "ทำประชามติ"

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ คสช. มีมติเห็นชอบให้แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยการทำประชามติก็จะใช้เวลา 3 เดือน

ให้มีศาลปกครองแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ คุณเห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 1002 คน
เห็นด้วย 327ไม่เห็นด้วย 675

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กำหนดให้ศาลปกครองจัดตั้ง “แผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ” ขึ้นมา เพื่อตรวจสอบและยับยั้งการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่งบประมาณหรือเงินของแผ่นดิน โดยเบื้องต้นผู้ที่มีสิทธิในการส่งฟ้องคดี จะมีทั้ง คตง. ป.ป.ช. และประชาชนทั่วไป ซึ่งด้านหนึ่งก็มีเสียงชื่นชมว่าจะช่วยแก้ปัญหาฝ่ายการเมืองที่มักจะใช้นโยบายประชานิยมที่ส่งผลเสียต่องบประมาณประเทศและทำให้การตรวจสอบทุจริตครอบคลุมมากขึ้น แต่อีกด้านก็มีเสียงวิจารณ์ว่า จะทำให้ฝ่ายตุลาการมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหาร และทำให้รัฐบาลทำงานยากลำบากมากขึ้น ไม่มีใครกล้าคิดนโยบายที่ต้องใช้เงินช่วยเหลือประชาชน

ตั้งคณะกรรมการเสริมสร้างความปรองดอง เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 977 คน
เห็นด้วย 278ไม่เห็นด้วย 699

ตามเจตนารมณ์ข้อที่ 4 ของการร่างรัฐธรรมนูญคือการนำชาติสู่สันติสุข ได้กำหนดเนื้อหาในภาค 4 หมวด 3 ให้มีคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ ประกอบด้วยกรรมการไม่เกิน 15 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่เป็นฝักฝ่ายทางการเมืองหรือความขัดแย้ง และผู้ซึ่งเป็นผู้นำความขัดแย้ง ขึ้นมาทำหน้าที่หาสาเหตุแห่งความขัดแย้ง และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข เป็นคนกลางในการประสานความขัดแย้ง รวมถึง เสนอให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษแก่บุคคลซึ่งให้ความจริงอันเป็นประโยชน์และได้แสดงความสำนึกผิดต่อคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ เป็นต้น

ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 1355 คน
เห็นด้วย 226ไม่เห็นด้วย 1129

ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นที่ถกเถียงในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยเฉพาะการให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดในการวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่ามีเนื้อหาถูกต้องหรือไม่ ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่าการเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญมากจะเป็นการป้องการเผด็จการรัฐสภาที่มักจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง ส่วนฝ่ายคัดค้านเห็นว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นอำนาจโดยชอบของรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนโดยผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งการให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมากจะเป็นการขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจ

ควบรวม “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ” กับ “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” เห็นด้วยหรือไม่ ?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 895 คน
เห็นด้วย 325ไม่เห็นด้วย 570

ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2558  ได้มีการควบรวม “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” กับ “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” เข้าด้วยกัน เกิดเป็นองค์กรใหม่คือ “ผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน” ซึ่งมีทั้งเสียงที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฝ่ายที่เห็นด้วยมองว่า การควบรวมจะช่วยประหยัดงบประมาณ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ทั้งสององค์กรและช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน ขณะที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยเชื่อว่าการควบรวมจะไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพราะทั้งสององค์กรมีหน้าที่และกระบวนการทำงานต่างกัน และจะทำให้ประชาชนเหลือช่องทางร้องเรียนแค่ช่องเดียว

“จอน อึ๊งภากรณ์” เปิดเวทีอภิปราย รธน.-จุดประเด็นประชามติ ให้ “พลเมืองเป็นใหญ่” ผ่านเว็บไซต์ Prachamati.org

สื่อมวลชนทางเลือกกลุ่มหนึ่ง นำโดย iLaw, ประชาไท, ไทยพับลิก้า และสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเปิด “เวที” ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นที่มาของเว็บไซต์ Prachamati.org โดยมี “จอน อึ๊งภากรณ์” ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เป็นผู้ผลักดัน ลองรับฟังเหตุผลว่า  Prachamati.org เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

“โคทม อารียา” วิพากษ์ รธน. ฉบับแกงโฮะ อย่าให้พลเมืองรู้ดีแค่ 36+200 คน กำหนดอนาคตคนรุ่นต่อไป

หนึ่งในพันธมิตรร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Prachamati.org ให้เป็นเวทีในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็คือ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (สสมส.) แต่เพราะเหตุใด สสมส. และโคทม อารียา ถึงมาร่วมกับก่อตั้งเว็บไซต์นี้ และความเห็นของโคทม ต่อการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ต่อเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ ต่อบทบัญญัติเรื่องหน้าที่พลเมือง และต่อวาทกรรมเรื่องพลเมืองเป็นใหญ่ 

สฤณี อาชวานันทกุล: เมื่อประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรื่องสีเสื้อ กับการร่วมงานครั้งแรกของคนทำงานพื้นที่ออนไลน์

ประชาไทสัมภาษณ์ สฤณี อาชวานันทกุล ผู้ร่วมก่อตั้งและคณะบรรณาธิการ สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ในฐานะหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ประชามติ ถึงความเป็นมาเหตุใดไทยพับลิก้าได้เข้ามาร่วมกับเว็บประชามติ ความคาดหวังกับการรวมตัวครั้งนี้ รวมทั้งความเห็นต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

Pages

Subscribe to RSS - รัฐธรรมนูญ