ข่าว

19 ปี ของความพยายามจัดตั้งองค์การคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากรัฐอาจจะต้องสะดุดลง เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ เขียนใหม่ให้การจัดตั้งองค์กรเป็นสิทธิที่จะตั้งหรือไม่ก็ได้ รวมทั้งยังย้ายการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจาก "สิทธิ" ไปเป็นหน้าที่ของรัฐ และตัดสิทธิร้องเรียนเมื่อได้รับความเสียหายออก
ทันทีที่ร่างรัฐธรรมนูญมีชัยเผยโฉมออกมา มันได้ส่งแรงกระเพื่อมไปยังกลุ่มคนหลายกลุ่มในสังคม ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน เนื่องจากมีความกังวลกันว่าสิทธิที่เคยได้รับการคุ้มครองในอดีตจะหายไปหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าจ้างที่เป็นธรรม การจัดสวัสดิการโดยเสมอภาค และการรวมตัวกันเป็นสหภาพ
ประยุทธ์ โต้คำทำนายโหรวารินทร์ว่าจะไม่มีการเลือกตั้งปี 60 ระบุตนจะเป็นคนที่ทำให้มีการเลือกตั้งในปี 2560 แล้วควรจะเชื่อใคร 
"หมวดปฏิรูป" ถูกเขียนอย่างสวยงามไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ พร้อมกำหนดให้มี "แผนยุทธศาสตร์ชาติ" ร่างโดยรัฐบาลคสช. มีผลผูกพันรัฐบาลหน้าไปด้วย แต่หากย้อนดูผลงาน คสช. ที่เคยลั่นวาจาไว้ว่าจะปฏิรูปประเทศก็ยังไม่เห็นว่าภาพฝันอันนี้จะเป็นจริงอย่างไร
แม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญมีชัยจะผ่านการออกเสียงประชามติ ในเบื้องหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังจะอยู่กับเราอย่างน้อยก็ 15 เดือน และในเบื้องหลังบรรดาประกาศ/คำสั่ง และวุฒิสภาจากการแต่งตั้ง จากคสช.ยังอยู่หลังจากเลือกตั้ง
สิทธิทางด้านสาธารณสุขในร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประเด็นที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคน ขณะที่คนร่างโปรโมตร่างรัฐธรรมนูญนี้ว่าคุ้มครอง “ตั้งแต่ท้องแม่จนถึงแก่เฒ่า” ข้อกังวลของสังคมคือ ถ้าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านจะเปิดทางให้ “ยกเลิกบัตรทอง” ในอนาคตหรือไม่
กรมการปกครองยืนยัน เว็บไซต์ http://118.174.31.146/ เป็นเลขที่อยู่ไอพีของเว็บไซต์ www.KHONTHAI.com ภายใต้การดูแลของกรมการปกครอง และกำลังเปิดบริการตรวจสอบสถานที่ออกเสียงประชามติเพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน ไม่ใช่เว็บไซต์ปลอมของมิจฉาชีพ
ilaw และผู้เกี่ยวข้องกับ พรบ. ประชามติ ยืนยันในทางเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องเลื่อนการออกเสียงประชามติ เพราะมาตรา 61 วรรคสอง บังคับใช้ไม่ได้
รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรียนฟรี 15 ปี ครอบคลุมทั้งสายสามัญและอาชีวศึกษา ขณะที่ ร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับลงประชามติ) เรียนฟรี 12 ปี เพื่อรองรับคนจน ทำให้เยาวชนออกมาทวงสิทธิเรียนฟรี ม.ปลายทันที
ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติ เอกฉันท์ให้ส่งเรื่อง พรบ. ประชามติ มาตรา 61 วรรคสอง โดยเครือข่ายนักวิชาการยื่นคำร้องนั้น ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ส่วน มาตรา 61 วรรค 4  เป็นดุลยพินิจของผู้ออกกฎหมาย ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ขอก้าวล่วง

Pages