ร่างรัฐธรรมนูญ

เกินตัวบท? ปัญหาการตีความคำถามพ่วงกับอำนาจเสนอชื่อนายกฯ

พอคำถามพ่วงผ่าน ปัญหาที่ตามมาคือ การตีความคำถามพ่วงโดยสนช. ว่า ท้ายที่สุดแล้ว คำว่าให้ความเห็นชอบนั้น จะถือว่า ส.ว. มีอำนาจเสนอชื่อนายกฯ ด้วยหรือไม่ หรือควรถูกจำกัดไว้แค่การพิจารณาให้ความเห็นชอบจากบุคคลที่ ส.ส. เป็นคนเลือกมา โดยก็มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยแตกต่างกันไป ซึ่งความชัดเจนในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่งผ่านการออกเสียงประชามติของประชาชนยังต้องคอยดู

เครือข่ายประชาชนประกาศ “ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ”

24 ก.ค. 2559 ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดงาน "ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญ กับอนาคตประชาชน" ตัวแทนเครือข่ายเพื่อรัฐสวัสดิการ-สมัชชคนจน-ตัวแทนเครือข่ายสลัม 4 ภาค-เกษตรกรรมทางเลือก และการศึกษาทางเลือก ประกาศ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ นำเสนอมุมมองปัญหาอันหลากหลายของแต่ละกลุ่ม พุ่งตรงปมปัญหาในร่างมีชัย

โค้งสุดท้ายประชามติ #3 ‘คนพิการ’ จากสิทธิสู่การสงเคราะห์

สิทธิคนพิการถูกตัด จากสิทธิเหลือเพียงผู้ได้รับการสงเคราะห์จากรัฐ การใช้บริการสาธารณะถูกตัด หวั่นร่าง รธน. ผ่าน ภาคประชาสังคมและคนพิการต้องทำงานหนัก

โค้งสุดท้ายประชามติ #2 การทำหนังสือระหว่างประเทศปิดประตูมีส่วนร่วมของประชาชน

เอฟทีเอวอชท์ระบุ ร่างรัฐธรรมนูญตัดการมีส่วนร่วมประชาชน-รัฐสภา ไม่เปิดเผยข้อมูล ลดการเยียวยาผลกระทบ ไม่ต้องทำกรอบการเจรจา หวั่นรัฐตามไม่ทันเนื้อหาสัญญาที่ก้าวร้าวมากขึ้น เชื่อเป็นกระบวนการที่ล้าหลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ทำความเข้าใจ บัตรดี-บัตรเสีย เพื่อเสียงของคุณไม่สูญเปล่า

อีกสองวันก็จะถึงวันลงประชามติ 7 สิงหาคมแล้ว หลายๆ คน คงมีคำตอบในใจแล้วว่าจะกาช่องไหนในการกำหนดอนาคตของประเทศครั้งนี้ แม้ขั้นตอนการลงประชามติจะดูเหมือน แค่เข้าไปกากบาทในช่องที่ 'ใช่'  แต่เพจประชามติก็ได้รับคำถามจากผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายๆ คนว่า จะกากบาทอย่างไรไม่ให้เป็นบัตรเสีย วันนี้ เพจประชามติ จึงประมวลภาพ บัตรดี-บัตรเสีย เพื่อให้หลายๆ คน เข้าคูหาได้อย่างมั่นใจไม่ต้องกลัวเสียงของตัวเองจะสูญเปล่า

 

 

สิระ เจนจาคะ: รัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน อำนาจเป็นของประชาชน ไม่ใช่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

สิระ เจนจาคะ ไม่รับรองให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับที่ดีที่สุด และไม่รับคำถามพ่วง ถ้าหากร่างใหม่ต้องกำหนดให้ผู้ร่างมีความหลากหลายมากกว่านี้ และต้องออกไปรับฟังความเห็นประชาชนด้วย

 

สิทธิการดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี (ที่หายไปจากร่างรัฐธรรมนูญ)

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติได้ตัดบทบัญญัติรับรองสิทธิการดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีทิ้งไป และไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติมาตราอื่นใดที่พอจะตีความเทียบเคียงได้ จึงถือเป็นจุดอ่อนอีกประการหนึ่งของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฯ 2550 และเป็นเสมือนการพรากเอาไปซึ่งสิทธิของประชาชนประการสำคัญอันได้รับการรับรองคุ้มครองสืบต่อเนื่องมาในรัฐธรรมนูญ

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ถ้าร่างผ่านเท่ากับ "ตีเช็คเปล่า" ให้ กรธ.เขียนกฎหมายลูก 10 ฉบับได้ตามใจ

รัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องอาศัยกฎหมายลูก อย่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ มาขยายความในรายละเอียด ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2559 กำหนดให้ร่างกฎหมายลูกอีกอย่างน้อย 10 ฉบับ และถ้าร่างผ่านประชามติ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จะอยู่ยาวอีกแปดเดือนเพื่อร่างกฎหมายลูกเองทั้งหมด เนื้อหาจะเป็นยังไงตอนนี้ยังไม่เห็นทิศทาง

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: กระจายอำนาจถอยหลัง บางท้องถิ่นไม่ต้องเลือกตั้ง และลดการมีส่วนร่วมประชาชน

ประเด็นการกระจายอำนาจเป็นสิ่งที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 ถึงรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นต้นมา ปัจจุบัน การกระจายอำนาจสู่ระดับท้องถิ่นต้องหยุดชะงักลงอย่างไม่มีกำหนด เมื่อ คสช.รัฐประหาร 

Pages

Subscribe to RSS - ร่างรัฐธรรมนูญ